เคสนี้หายาก… “เป็นหมอนรองกระดูก ฯ ทับเส้นประสาทที่คอตอนอายุแตะเลขสาม”

คงเป็นเรื่องที่คนยุคใหม่หลายคนคิดว่าไกลตัวพอสมควรสำหรับโรคที่ถูกเข้าใจว่าเกิดกับคนอายุ 60 เป็นส่วนใหญ่อย่าง “หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทที่คอ”  ซึ่งปกติแล้วหลายคนคงคุ้นชินกับชื่อ “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เฉยๆ ซะมากกว่า 
 

อยากเข้าใจโรคนี้ให้มากขึ้น ต้องทำความรู้จักกับ 3 สิ่งนี้ก่อน
 

ได้ยินแค่ชื่อก็คงยังไม่เห็นภาพ และไม่อินกับการได้รู้จักโรคนี้กันซักเท่าไหร่  Health Addict  จึงไปนั่งคุยกับคุณหมอที่ให้การรักษาเคสนี้โดยตรง นั่นก็คือนายแพทย์ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาทไขสันหลังโรงพยาบาลพญา 1 (อาจารย์ธีระศักดิ์) เพื่อสอบถามถึงสาเหตุของโรคนี้จนพบคำตอบในที่สุด 

 เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพที่มาของโรคง่ายขึ้น จำไว้ว่าโรคของเคสนี้เกี่ยวข้องกับ 3 อย่างหลักๆ ในร่างกายเรา ได้แก่…
 
1.กระดูกสันหลัง (SPINE)   => หลายคนเข้าใจว่ามันก็คือกระดูกในส่วนของหลังเพียงอย่างเดียว ซึ่งความจริงแล้วกระดูกสันหลังนั้นคือกระดูกตั้งแต่บริเวณ “คอ” ไล่ลงไปยัง “อก” “เอว”  และ”ก้นกบ”  ตามลำดับ   
 
2.หมอนรองกระดูกสันหลัง (Disc)  =>เมื่อกระดูกสันหลังต้องเรียงกันเป็นชั้นๆ ตั้งแต่คอมาจนถึงก้นกบ แต่ละชั้นกระดูกจะมี  “หมอนรองกระดูก” คั่นกลางระหว่างกระดูกกับกระดูกอยู่ เพื่อป้องกันการเสียดสี การกระแทก โดยจะคอยซับแรงกระแทกที่อาจไปทำลายกระดูกสันหลังเอาไว้  รวมถึงทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น การนั่ง การลุก การก้มเงย เอียงตัวซ้าย-ขวาของร่างกายเกิดความยืดหยุ่นได้ 
 
และ 3.เส้นประสาทไขสันหลังที่คอ (CERVICAL) =>ในกระดูกสันหลังตั้งแต่คอถึงก้นกบนั้นจะมีเส้นประสาทวิ่งผ่านไปทั่วทุกบริเวณ  โดยจะเรียกเส้นประสาททั้งหมดนี้ว่าไขสันหลัง หรือ SPINAL CORD ซึ่งวันนี้เราพูดถึงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังที่คอ ซึ่งเป็นบริเวณของเส้นประสาทไขสันหลังคอชื่อ CERVICAL 
 
อ่ะ! เผื่อไม่เห็นภาพ จากภาพข้างล่างนี้คือภาพโครงสร้างเส้นประสาทไขสันหลังตามจุดต่างๆ ได้แก่ 1. เส้นประสาทไขสันหลังส่วนคอ หรือ “cervical” ตัวย่อ “C” 2. เส้นประสาทไขสันหลังส่วนอก  หรือ “Thoracic” ตัวย่อ T  3. เส้นประสาทไขสันหลังส่วนเอว หรือ “ Lumbar” ตัวย่อ “L”  4. เส้นประสาทไขสันหลังส่วนก้นกบ   หรือ “Sacrum” ตัวย่อ  “S” 
 
 
ภาพแสดงเส้นประสาทไขสันหลังในส่วนต่างๆ ของร่างกาย   เครดิตภาพ : https://bit.ly/3i9R7zR

 

เกิดอะไรขึ้น? ก่อนที่เขาจะตัดสินใจไปพบแพทย์


ย้อนไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วคุณเอิร์ธ (ธีระพล จอกลอย)  ในวัย 36 ปี เริ่มมีอาการเจ็บปวดบริเวณแขน ซึ่งก็ทำให้เขาต้องไปหาหมอทุกครั้งที่ความเจ็บปวดนี้กำเริบ คุณเอิร์ธเล่าว่า“ครั้งแรกที่ไปหาหมอคือตอนนั้นกำลังจอดรถแล้วรู้สึกปวดแขนข้างซ้ายร้าวตั้งแต่ไหล่ลงไปแขน พอเข้าช่วง 3 อาทิตย์แรกยังพอยกแขนได้ แต่เข้าอาทิตย์ที่ 4 คือผมยกแขนไม่ได้เลย” ซึ่งในตอนนั้นคุณหมอวินิจฉัยว่าเขาอาจป่วยเป็นโรคโพรงประสาทในข้อมืออักเสบเพราะว่ามีอาการชาร่วมอยู่ด้วย แต่สุดท้ายก็ต้องกลับไปหาใหม่อีกหลายครั้งจนพบว่าป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกที่คอปลิ้นทับเส้นประสาท  ซึ่งเขาก็บอกว่าเคสนี้ส่วนมากจะมาจากการเกิดอุบัติเหตุเป็นส่วนใหญ่ 

 

เพราะ “ขับรถนาน นั่งท่าเดิม เล่นมือถือ” ทำให้อาการทรุดหนักขึ้น

การขับรถนานๆ นั่งท่าเดิมหรือการก้มเล่นมือถือและอุปกรณ์สื่อสารอยู่ตลอด มีส่วนทำให้อาการปวดหนักของคุณเอิร์ธที่เดิมเหมือนจะดีขึ้นนั้นกลับมาอีกครั้ง ซึ่งพฤติกรรมนี้ทางคุณหมอบอกว่าถือเป็นอีกสาเหตุหลักของหมอนรองกระดูกคอเสื่อม คุณหมอธีระศักดิ์บอกว่า “คนที่ต้องนั่งทำงานนานๆ ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ หรืออยู่กับการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ  เกือบ 24 ชั่วโมง เช่น นั่งเล่นมือถือที่ร้านกาแฟ ก้มเล่นมือถือระหว่างขึ้นบีทีเอส แม้แต่จะเป็นการก้มนั่งอ่านหรือเขียนหนังสือ ทุกอย่างนี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ไปเร่งให้หมอนรองกระดูกที่คอเสื่อมไวขึ้น”


เครดิตภาพ: Photo by Spencer Davis on Unsplash
 

หากเป็นหนัก จำไว้ว่า “การผ่าตัด” ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด!

สำหรับเคสนี้ทางคุณหมอบอกว่าได้เลือกใช้วิธีการใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไปทดแทนอันที่เป็นปัญหา ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง Microscope กล้องผ่าตัดที่มีความละเอียดสูงเพื่อนำเอาหมอนรองกระดูกที่เสื่อมออก  นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีคือการใส่กระดูกเทียม ซึ่งเวย์นี้คุณหมอบอกว่าจะเหมาะกับผู้สูงวัยมากกว่า 
 
ส่วนถ้าพูดถึงโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการพิการหรือเป็นอัมพาตนั้น เราต้องบอกว่าปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์ของทางโรงพยาบาลเขาให้ความแม่นยำสูงมากถึง 90 %  ฉะนั้นไม่ต้องกังวลใจเพราะเรื่องโอกาสที่จะเกิดอัมพาตหรือพิการหลังผ่าตัดนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ  คุณหมอธีระศักดิ์บอกว่า “ก่อนการผ่าตัด ถ้าคนไข้ไม่มีโรคประจำตัวก็ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไร แต่ถ้าเป็นในกรณีมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน หมอก็จะต้องมีการบอกให้เตรียมตัวเพื่อป้องกันอันตรายก่อนการผ่าตัดเบสจากโรคประจำตัวในแต่ละคน  เช่น บางคนต้องทานยาละลายลิ่มเลือดก็อาจจะต้องหยุดทานก่อนประมาณ 5 -7 วันเพราะยาละลายลิ่มเลือดจะทำให้เลือดไหลออกมาก” 
 
 
 

ก่อนผ่าตัด VS หลังผ่าตัด “ดูแลตัวเอง” ด้วยวิธีไหนดี?

ก่อนการผ่าตัดคุณเอิร์ธเล่าว่าไม่ได้เตรียมตัวอะไรมาก เพียงแต่จะเลี่ยงการทานเยอะเพราะไม่อยากขับถ่ายบ่อยระหว่างพักฟื้น ซึ่งการพักฟื้นหลังผ่าตัดนี้จะไม่เกิน 3-4วัน  คุณหมอจะตรวจเช็กว่ามีไข้หรือการติดเชื้ออักเสบหรือไม่ ส่วนหลังการผ่าตัดก็สามารถทานอาหารได้ตามปกติ การออกกำลังกายที่ทำได้จะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเบาๆ ขยับตัวบ้าง ไม่ใช่การเวิร์คเอาท์หนักเพราะมันอาจจะทำให้เกิดแรงกระแทกต่อบริเวณที่ผ่าตัดได้ ซึ่งปัจจุบันคุณเอริ์ทใช้วิธีการปั่นจักรยานและการเดินไกลเพื่อเวริค์เอาท์แต่ละวีค 
 
ทั้งนี้ใครที่มีโรคประจำตัว ก่อนและหลังการผ่าตัดคุณหมอก็จะให้คำแนะนำแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับโรคที่คุณเป็นอยู่เดิม เช่น บางท่านต้องหยุดยาละลายลิ่มเลือดก่อนผ่าตัด 5-7 วัน เพราะยาชนิดนี้จะทำให้เลือดไหลออกมามาก รวมไปถึงพฤติกรรมบางอย่างที่ต้องละเว้น เช่น การสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินอาจส่งผลต่อเส้นเลือดของแผลผ่าตัด มีผลทำให้แผลหายช้าได้ 
 
 

หากใครเป็นสายกีฬา การผ่าตัดแบบนี้ก็ไม่ใช่อุปสรรค แต่! ควรเป็นกีฬาที่ไม่ใช่การกระแทก

 ภายในการฟื้นตัวช่วงหนึ่งเดือน สิ่งที่คุณหมอจะแนะนำคือคุณยังคงออกกำลังกายได้ แต่สิ่งต่างๆ ต้องไม่สร้างการกระแทกกับบริเวณคอ  โดยอาจเปลี่ยนเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานแทน และที่สำคัญควรใส่ปลอกคอเพื่อเตือนตัวเองอยู่เสมอเพื่อให้อุปกรณ์ที่ใส่บริเวณกระดูกคอได้สมานเข้ากับร่างกาย  และเป็นการป้องกันให้คนทั่วไปได้ระวังตัวไม่มากระแทกคุณด้วย  
 

ต้องรู้! อาการบ่งชี้ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่คอ อาจเริ่มต้นด้วยการเป็น “OFFICE SYNDROM”

 
คุณหมอธีระศักดิ์บอกว่าสัญญาณต่างๆ อาจเริ่มมาจากการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมก่อน เช่น ปวดเมื่อย บ่าไหล่ คอ หากเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วยังไม่หาย ก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัด  “อาการเริ่มๆ เหมือนกับออฟฟิศซินโดรม ซึ่งถ้าเป็นซ้ำซากไปนานๆ ไม่หายซักทีก็จะไปทำให้หมอนรองกระดูกที่คอเสื่อมแล้วไปทับเส้นประสาท  คราวนี้จะไม่ใช่แค่รู้สึกปวดธรรมดา แต่จะเป็นอาการปวดร้าวๆ บริเวณแขนเฉพาะจุด เช่น  มือหรือนิ้วมือ” 
 
 อาจารย์ยังบอกด้วยว่า อาการชาเฉพาะจุดนี้ไม่ใช่อาการชาแบบบริเวณกว้าง เช่น ถ้าชาที่มือก็จะชาไปที่นิ้วโป้งแค่นิ้วเดียวก่อนจะต่อด้วยอาการอ่อนแรงตามมา “ผู้ป่วยจะไม่มีแรงหยิบจับสิ่งของทั้งๆ ที่เคยทำได้  ถ้ามีอาการแบบนี้แปลว่าหมอนรองกระดูกคอเสื่อมไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรมแล้ว หากปล่อยไว้ให้รุนแรงก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาตได้”
 


 

“ความอันตรายของหมอนรองกระดูกเสื่อมที่คอนั้นจัดว่ารุนแรงกว่าหมอนรองกระดูกเสื่อมในจุดอื่นๆ เพราะเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทอยู่ใกล้กับสมองมากที่สุด”
 


นายแพทย์ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาทไขสันหลังโรงพยาบาลพญาไท 1 


นอกจากมนุษย์ออฟฟิศ อาชีพแบบไหนอีกบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคนี้?

 
 โรคนี้มาจากการที่คอของเราถูกใช้งานหนัก จากเดิมที่หมอนรองกระดูกคอจะต้องเสื่อมตอนอายุ 50 ถึง 60 ก็ดันเสื่อมวัยขึ้น ส่วนหนึ่งคุณหมอบอกว่าอาจมาจากการประกอบอาชีพ เช่น ทันตแพทย์ คนเย็บปักถักร้อย ศิลปินที่ต้องวาดภาพ หรือช่างตัดผม เพราะงานเหล่านี้ต้องมีการก้มเงยอยู่ตลอด หากไม่พักเบรคเลยคอก็จะทำงานหนัก นอกจากนี้อีกหนึ่งสาเหตุคือการประสบอุบัติเหตุ เช่น คอได้รับการกระแทกจากการเล่นแทรมโพลีนจั๊มพ์
 

อย่าลืมตรวจเช็กความเสี่ยงให้ชัวร์ ก่อนสายเกินแก้ 
 


เพราะอาการหนักเบาในแต่ละเคสนั้นย่อมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ แต่ทางที่ดีไม่ควรปล่อยวางและควรเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ด้วย อาจารย์ธีระศักดิ์อธิบายว่า การรักษาวินิจฉัยโรคจะเริ่มด้วยการจ่ายยาตามอาการก่อน และอาจจะต่อด้วยการกายภาพบำบัด  เลเซอร์ อัลตราซาวน์ หรือฉีดยาไปยังเส้นประสาทเพื่อลดความเจ็บปวด ซึ่งหากรักษาตามจากการตรวจคัดกรองทั้งหมดที่บอกมาแล้วไม่เวริค์ ขั้นตอนสุดท้ายในการคัดกรองโรคก็คือการตรวจเช็กด้วย MRI ซึ่งเป็นการตรวจอย่างละเอียดที่สุด  
 
หากผลวินิจฉัยไม่รุนแรงผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด“การตรวจคัดกรองอย่างละเอียดด้วย MRI จะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น บางครั้งก็เจอว่าผู้ป่วยอาจมีโรคอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น เนื้องอกในกระดูกสันหลัง หรือวัณโรคในกระดูกสันหลัง”

 
อ่านมาถึงตรงนี้เราก็อยากให้หนุ่มสาวทั้งหลายหันมาใส่ใจและสังเกตตัวเองกันมากขึ้น พักเบรคด้วยการลุกมายืดเหยียดทุกๆ 1 ชม. ใช้เวลาแค่ไม่ถึง 10 นาที ลองเหยียดตัวซ้าย-ขวา เดินไปมา เท่านี้ก็ช่วยผ่อนคลายไม่ให้หมอนรองกระดูกที่คอต้องทำงานหนักมากเกินไปแล้วว ที่สำคัญ! สำหรับใครที่สนใจอยากตรวจคัดกรอง MRI  เรามีสิทธิพิเศษเฉพาะแฟนๆ ชาว Health addict  นั่นคือ 2 โปรแกรมตรวจ MRI ราคาพิเศษ จากโรงพยาบาลพญาไท1 ได้แก่...
 
1. MRI Cervical Spine โปรแกรมวินิจฉัยปัญหาปวดหลังสาเหตุจากกระดูกสันหลังส่วนคอ ราคาพิเศษ 6,900 บาท พร้อมหมอนรองหลังเพื่อสุขภาพมาเป็นของแถม
 
 
2. MRI Lumbosacral Spine โปรแกรมวินิจฉัยปัญหาปวดหลังที่สาเหตุจากกระดูกสันหลังส่วนล่าง ราคาพิเศษ 6,900 บาท พร้อมหมอนรองหลังเพื่อสุขภาพ
 

เงื่อนไขก่อนเข้ารับบริการ: 
 
ก่อนเข้ารับบริการ กรุณาพิมพ์ ชื่อ-นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาทาง Inbox เพจ Healthaddict แล้วนำแสดงให้เจ้าหน้าที่พร้อมยืนยันว่าทราบข้อมูลมาจาก Health Addict  ของเรา
 
***หมายเหตุ: สามารถเข้ารับบริการด้วยเงื่อนไขนี้ได้ ตั้งแต่ 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. 63
                   สิทธิ์พิเศษเฉพาะแฟนๆ  Health Addict เท่านั้น !
 
 
-->