Page 14 - ISSUE20_OCTOBER
P. 14

14       REAL LIFE STORY






                 เมื่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์





                              ช่วยฉุดให้








                  อำกำรซึมเศร้ำ







                       ของเธอดีขึ้น









                           หลังจากที่ได้ฟังประสบการณ์ของผู้หญิงคนนี้ที่ต่อสู้กับภาวะซึมเศร้ามานานกว่า 4 ปี แถมเธอยังเป็น

                           นักสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นงานที่ต้องรับฟังเรื่องราวที่เครียดและหดหู่อยู่เสมอ ท�าให้เราอดสงสัย
                           ไม่ได้เลยจริงๆ ว่าจิตใจของเธอต้องแกร่งขนาดไหน เพราะนอกจากจะดีลกับปัญหาส่วนตัวแล้ว เธอยังต้องดีล

                           กับปัญหาของเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ อีก แต่อะไรที่ท�าให้ เฟริส์ท ธนัฐพร ศิริชัยสินธพ มีแพชชั่นและยังคงรัก
                           ในสายงานนี้อยู่ เรามาฟังจากปากเธอกันเลยดีกว่า



                                                                ควำมสนุกของงำน “อำสำสมัคร”
                                                                หลังจบปริญญาตรีจากรั้วจุฬาฯ เธอก็ได้ไปท�างานในภาคธุรกิจอยู่ปีหนึ่ง แต่ก็พบว่ายังไม่ใช่ทาง “ช่วงนั้นเราก�าลัง
                                                                จะเปลี่ยนงาน สมัครงานใหม่ไปหลายที่แต่ก็ยังไม่รู้สึกอินกับตัวงานเลย แต่บังเอิญมีเพื่อนที่ท�างานช่วยเหลือผู้ลี้
                                                                ภัยเขามาแนะน�า พอฟังสโคปงานแล้วก็รู้สึกว่าชอบ เลยตัดสินใจลองท�าดู” หลังจากท�ามาสักพักเธอก็เริ่มสนุก
                                                                กับงานที่ไม่ได้นั่งอยู่แค่ในออฟฟิศ “เราต้องออกไปเยี่ยมผู้ลี้ภัยตามบ้าน ไปรับฟังปัญหาของเขา ซึ่งช่วยบ�าบัด
                                                                จิตใจเขาได้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการถามทั่วไปอย่างเช่น ช่วงนี้สุขภาพเป็นยังไง ลูกได้เรียนหนังสือมั้ย แล้วก็เอา
                                                                ข้อมูลกลับมาที่ท�างาน เพื่อดูว่าเราจะช่วยเหลือเขายังไงได้บ้าง มันสนุกตรงที่ได้ออกไปเจอที่ใหม่ๆ ในกรุงเทพฯ
                                                                ที่เราไม่เคยไป และก็ท้าทายในเวลาเดียวกัน”

                                                                หน้ำที่...ที่มำพร้อมกับกำรตัดสินใจ
                                                                “คือมันเป็นงานที่เกี่ยวกับความต้องการของคน ไม่ว่าจะเรื่องเงิน เรื่องการศึกษา เราต้องคิดตลอดเวลาว่าจะช่วย
                                                                เขายังไงให้เขารู้สึกดีขึ้น ความต้องการของเขามีอะไรบ้าง ดูแลเป็น case by case ไป แต่ด้วยข้อจ�ากัด มัน
                                                                เป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถช่วยได้ทุกเคส ซึ่งเราต้องตัดสินใจว่าจะช่วยหรือไม่ช่วยใคร” และนี่เป็นจุดที่ท�าให้เธอ
                                                                ยอมรับกับเราตรงๆ เลยว่าล�าบากใจมาก “ตอนท�าแรกๆ เป็นอาการ anxiety เลย คือเราไม่กล้าตัดสินใจ ไม่
                                                                อยากตัดสินชีวิตใคร แต่หัวหน้าก็สอนว่าเราไม่สามารถช่วยทุกคนได้ เราท�าดีที่สุดเท่าที่จะท�าได้แล้ว พอเปลี่ยน
                                                                มายด์เซตก็ท�าให้การท�างานง่ายขึ้น”

                                                                ควำมท้ำทำยที่มำกกว่ำกำรเก็บข้อมูล
                                                                เธอเล่าให้ฟังว่าความท้าทายอีกอย่างที่ต้องเจอก็คือ การอยู่ท่ามกลางสนามอารมณ์ที่ทุกคนต่างพร้อมใจกันพรั่ง
                                                                พรูออกมา “เคสที่ยากที่สุดคือเคสที่มีความชอกช�้าทางจิตมาก เราจะไม่สามารถถามบางค�าถามกับเขาได้ เพราะ
                                                                มันอาจกระตุ้นบางอย่างในใจเขา หรือบางเคสที่ถามแล้วร้องไห้ขึ้นมา มันก็จะต้องใช้เวลาในการปลอบให้เขา
                                                                เย็นลงด้วย ก็ต้องคิดแล้วว่าค�าถามนี้ถามไม่ได้ แต่จะถามยังไงเพื่อดึงข้อมูลออกมาให้ได้มากที่สุด เคสแบบนี้จะ
                                                                ใช้เวลานานขึ้น เพราะนอกจากเราจะเป็นคนเก็บข้อมูลแล้ว เรายังต้องดูแลในด้านจิตใจของเขาด้วย บางวันเรา
                           i                                    ต้องไปเจอ 2-3 เคส แล้วทุกคนร้องไห้ใส่เราหมดเลย บางทีก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจเราเหมือนกัน”


             ธนัฐพร ศิริชัยสินธพ                                สภำพจิตใจที่ถดถอย กับอำกำรซึมเศร้ำที่เป็นมำก่อน
             (เฟริส์ท)                                          “แรกๆ พังมากเพราะฟังแล้วมันอิน คือเราจะเศร้าตามเขาไปด้วยแล้วก็เก็บความเศร้านั้นกลับบ้านไปเลย เหมือน
                                                                เป็นการเพิ่มเอเนอร์จี้ลบในตัวเรา จากที่มีพลังลบในตัวอยู่แล้ว พอรับเข้ามาอีกมันก็หนักไปหมด เหมือนดึงตัว
             อายุ : 25 ปี
             นักสังคมสงเคราะห์                                  เองออกมาไม่ได้ทั้งที่งานจบไปแล้ว” แต่ที่เซอร์ไพรส์หนักกว่าคืออาการซึมเศร้าที่เธอต่อสู้มานานตั้งแต่ก่อนที่จะ
             องค์กรเอกชน                                        ตัดสินใจมาท�างานที่นี่ “จริงๆ ก่อนที่จะมาท�างานช่วยเหลือผู้อพยพ เราเป็นโรค PMDD อยู่ก่อนด้วย มันเป็น
                                                                ภาวะซึมเศร้าชนิดหนึ่งซึ่งเราจะรู้สึกเครียดและท�าร้ายตัวเอง ต้องปรึกษาแพทย์และกินยาเป็นประจ�า”
       O C T O B E R   2 0 1 9   |   I S S U E   2 0
   9   10   11   12   13   14   15   16