อย่าละเลย เพราะยิ่งสูงวัย เรื่องหัวใจ ยิ่งสำคัญ!

‘หัวใจ’ เป็นสิ่งล้ำค่ามากที่สุดในร่างกายของเรา เพราะนอกจากจะเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกายของเราแล้ว หัวใจยังเป็นพลังงานด้านบวกที่ส่งผลต่อความรู้สึกของทุกคน แม้ว่าโรคหัวใจจะน่ากลัว แต่ป้องกันได้ด้วยการรับมือให้ถูกวิธี



ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ ‘โรคหัวใจ’
เราอยากให้ทุกคนได้ตระหนักกับผู้ป่วยโรคหัวใจให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ยิ่งต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะจากข้อมูลปี 2566 โดยองค์การอนามัยโรค หรือ WHO ระบุว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และในเอเชียพบจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้มากที่สุด โดยสูงถึง 58% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากทั่วโลก หรือเป็นจำนวน 10.8 ล้านคน ในขณะที่ตัวเลขของประเทศไทยเราก็ไม่น้อยเลย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน หรือ 58,681 คนต่อปี และอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย

เพราะ ‘หัวใจ’ คนสูงวัยต้องดูแลเป็นพิเศษ
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ‘โรคหัวใจ’ ถือเป็นโรคที่เป็นความเสี่ยงสูงกับผู้สูงอายุ ดังนั้นหากผู้สูงอายุในบ้านของเรามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ เราควรหมั่นสังเกตลักษณะอาการและความผิดปกติ และนี่คือโรคหัวใจแต่ละประเภทที่กลุ่มผู้สูงอายุควรรู้ให้ทัน และรับมือให้ถูกวิธี
 
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่อายุมาก หรือมีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น สูบบุหรี่จัด ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นโรคยอดฮิตที่ผู้สูงอายุเป็นกันเยอะ โดยส่วนมากจะเกิดจากพฤติกรรมการกินที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกายก็มีความเสี่ยงไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นคนที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจะต้องจัดสรรอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายให้กับผู้สูงวัย ควรงดของหวาน ของทอด ของมัน หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด ควรจัดสรรช่วงเวลาว่างสัก 30 นาที สำหรับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นเพราะเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ ซึ่งเป็นความผิดปกติของการกำเนินกระแสไฟฟ้าหัวใจ ให้เรานึกถึงไฟฟ้าลัดวงจรจนทำให้ไฟไหม้ หัวใจเราหากเกิดภาวะนี้ก็จะทำให้หัวใจมีความผิดปกติจนทำให้เกิดโรคหัวใจได้หลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หากเกิดความผิดปกติต่อร่างกาย เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย หมดสติ มีอาการใจสั่นอย่างรุนแรง หรือรู้สึกเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ ควรรีบพบแพทย์ ทั้งนี้ถ้าหากผู้สูงอายุในบ้านของเรามีความเสี่ยงควรหลีกเลี่ยง เช่น ภาวะความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หลอดเลือดใหญ่ในร่างกายมีหน้าที่นำเลือดแดงจากหัวใจส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเกิดจากความเสื่อมตามอายุ หรือความผิดปกติอย่างอื่นที่ส่งผลโดยตรงกับหลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดโป่งพองและแตกในที่สุด ถือเป็นอีกหนึ่งภาวะในโรคหัวใจที่น่ากลัวไม่น้อยเลย
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งถ้าหากหัวใจวายเฉียบพลันมักเกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรง ในส่วนของภาวะหัวใจวายเฉียบพลันแบบเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นในระดับที่รุนแรงน้อยลงมา เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วที่ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งความน่ากลัวของภาวะหัวใจล้มเหลว คือการที่หัวใจของเรานั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติและมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

แม้ว่าโรคหัวใจจะฟังดูน่ากลัว แต่เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และหมั่นพาผู้สูงอายุที่บ้านของเรา เข้ารับการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี!

สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!
-->