ฮีลร่างกายจาก Long Covid ด้วยการเสริม “โพรไบโอติกส์” ในลำไส้



ใครที่เพิ่งหายจากโควิด-19 ไปหมาดๆ อาจรู้สึกไม่เต็มร้อย ยังไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนแต่ก่อน บางคนมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ ความจำผิดปกติ ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการ Long Covid ที่แตกต่างกันออกไป นั่นก็เป็นเพราะว่าร่างกายของแต่ละคนฟื้นฟูได้ไม่เท่ากัน ซึ่งอาการ Long Covid อาจยืดยาวได้นานถึง 6 เดือนหลังได้รับเชื้อเลยทีเดียว
 


นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย อธิบายว่า "Long COVID" หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะคนที่มีอาการป่วยรุนแรง จึงแนะนำให้ผู้ป่วย Long Covid ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองเสมอ โดยเน้นกิน โปรตีน วิตามิน และโพรไบโอติกส์ เพื่อฟื้นฟูร่างกาย 


ทำไมต้อง ‘โพรไบโอติกส์’
มีงานวิจัยจาก Center for Gut Microbiota Research ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Chinese University of Hong Kong พบว่าเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะเข้าไปทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ ทำให้คนทีได้รับเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่เชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้จะเสียสมดุลไป (Gut Dysbiosis) 
โดยมีปริมาณของจุลินทรีย์ตัวดีน้อยกว่าปริมาณจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อโรค ฉะนั้นการเสริมจุลินทรีย์ตัวดีหรือ ‘โพรไบโอติกส์’ จึงเป็นสิ่งที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำ เพื่อปรับสมดุลให้กับลำไส้นั่นเอง

www.freepik.com
 
เพราะ 70% ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ที่ลำไส้
ลำไส้ของเราคือแหล่งรวมจุลินทรีย์จำนวนมหาศาล แบ่งได้เป็น  2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ตัวดีที่ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน และ จุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อโรคต่างๆ ซึ่งจุลินทรีย์ตัวดีจะใช้วิธีแบ่งตัวให้มีจำนวนมากขึ้น เป็นการสร้างสมดุลในลำไส้ตามธรรมชาติเพื่อควบคุมจุลินทรีย์ตัวร้ายไม่ให้มีปริมาณที่เยอะเกินไป แต่ในทางกลับกันหากจุลินทรีย์ตัวดีมีปริมาณลดลง ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างเวลาที่เรามี ภาวะท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน อาการต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้นั่นเอง 

นอกจากนี้จุลินทรีย์ตัวดียังทำหน้าที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวบางชนิดอย่างแมคโครฟาจ (macrophage) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน Immunoglobulin A ออกมาต่อสู้กับเชื้อก่อโรคต่างๆ ฉะนั้นการมีสมดุลลำไส้ที่ดีจึงมีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้  


Photo by Vicky Ng on Unsplash


เลือกอาหารแบบไหน ให้มีโพรไบโอติกสูง
การเลือกกินอาหารที่ดีที่สุดคือการกินให้ครบ 5 หมู่ ยิ่งช่วงไหนร่างกายอ่อนแอ ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ เลือกทานอาหารที่มีโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ตัวดี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบได้ในอาหารหมักดอง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ นัตโตะ ซุปมิโสะ คอมบูฉะ แอบกระซิบว่า แม้จะเป็นอาหารชนิดเดียวกัน แต่ยี่ห้อที่ต่างกัน ก็อาจมีประมาณและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันออกไปด้วย 
 

Health Tip!
ฉะนั้นใครอยากเสริมสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ให้หลากหลาย สามารถใช้วิธีกินสลับยี่ห้อได้เช่นกัน



ใส่ใจตัวเองอีกขั้นด้วย "นมเปรี้ยวโพรไบโอติก ดัชมิลล์พลัส”
อย่างนมเปรี้ยวโพรไบโอติก ดัชมิลล์พลัส จะมีโพรไบโอติกสายพันธุ์ LGG  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ตัวดีที่สามารถเกาะติดกับเยื่อบุลำไส้ได้ยาวนาน เพราะมีขนช่วยในการยึดเกาะลำไส้ เพื่อป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อให้เกิดโรคดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งโพรไบโอติกสายพันธุ์ LGG มีเฉพาะในนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตของดัชมิลล์เท่านั้น นอกจากจะมีโพรไบโอติก LGG แล้ว ยังมีวิตามินซีสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย 

ใครที่อยากเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกาย แถมยังได้ความเข้มข้น อร่อย สดชื่น แนะนำว่าต้องลอง! 
แอบกระซิบว่านมเปรี้ยวโพรไบโอติก ดัชมิลล์พลัส มีทั้งหมด 3 รสชาติ คือ รสพรุน และรสฮันนี่เลมอน และตอนนี้มีรสใหม่อย่าง รสอาซาอิเบอร์รี่ และบลูเบอร์รี่ มีขายที่ 7-11 และร้านค้าชั้นนำทั่วไป ขวดละ 15 บาทเท่านั้น




Facebook : https://www.facebook.com/DutchMill4in1
Website : https://www.dutchmill.co.th/product.aspx?id=64


นอกจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ อาหารและวิตามินก็จัดว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงเช่นกัน ไม่ว่าจะมีอาการ Long Covid หรือไม่มีก็ตาม ควรสังเกตความผิดปกติของร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าอาการ Long Covid ดูมีทีท่าว่าจะแย่ลง ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างตรงจุดจะดีที่สุด ช่วงนี้อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะ



Reference:
https://gut.bmj.com/content/71/3/544
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33803407/
https://www.medicalnewstoday.com/articles/gut-bacteria-may-play-a-role-in-the-development-of-long-covid
https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/160265/
https://youtu.be/2epX8bU8OeE
https://youtu.be/K2aqCzNyvVs
https://www.researchgate.net/publication/221856094
-->