‘รักแรกพบ’ เกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาทีจริงเหรอ?

“Love at first sight” ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของพรหมลิขิต ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นแต่ในหนังหรือซีรีส์ที่พระเอกนางเอกเดินบังเอิญสบตากันตอนข้ามถนน แล้วก็เหมือนภาพสโลว์โมชั่นปิ๊งรักกันแบบแรกพบ โดยนักประสาทวิทยา Dr.Trisha Stratford อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า โดพามีนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจ และรู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่ใกล้คนที่เรารัก ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวเปรียบเสมือนการให้รางวัลของสมองเวลาที่เกิดความรู้สึกถูกใจสิ่งใด จนทำให้สมองเกิดการเสพติดสิ่งนั้นไปโดยปริยาย



‘รักแรกพบ’ หรือที่จริงแล้วคือแรงดึงดูดแรกพบ
เคลียร์ให้ชัดรักแรกพบแท้จริงแล้วอาจเป็นแรงดึงดูดแรกพบอยู่ก็ได้ ซึ่งมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Neuroscience บอกไว้ว่าคนส่วนใหญ่สามารถตัดสินใจได้ทันทีว่าคนๆ นี้น่าสนใจหรือไม่น่าสนใจ ถ้าเกิดเจอคนที่น่าสนใจภายในไม่กี่วินาทีก็จะเกิดแรงดึงดูดบางอย่าง คล้ายๆ อาการ 'ตกหลุมรัก' ซึ่งก็แน่นอนว่าส่วนที่ฉลาดที่สุดอย่างสมองย่อมรู้ดีว่าเรากำลังสนใจใครอยู่ และใครกำลังมองเราอยู่ และนั่นแหละก็จะก่อให้เกิดการสปาร์คจอย และสานสัมพันธ์กันต่อไป 

Photos : courtesy of Universal Pictures
 
‘Love at first sight’ เกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาที
ความประทับใจจากรักแรกพบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาทีแรกที่เราได้พบกับใครบางคนได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก ซึ่งนั่นหมายความว่าในระยะเวลาเพียงแค่ 7 วินาทีแรก แทบจะตัดสินใจได้ทันทีว่าเขาคนนั้นมีอะไรที่สามารถดึงดูดใจเราได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่าเกิดจากปฏิกริยาเคมีที่เกิดขึ้นในสมอง พอเรารู้สึกว่ากำลังตกหลุมรัก สมองจะหลังสารโดปามีน และเซโรโทนินออกมา ทำให้เรารู้สึกอบอุ่น และไว้ใจกับคนๆ นั้นในทันที ความรู้สึกฟินใกล้เคียงกับความรู้สึกของคนเสพสารเสพติดเลยทีเดียว แว็บแรกถูกตาต้องใจ แว็บต่อไปก็จะเริ่มมีแรงดึงดูดต่อกันมากขึ้นนั่นเอง


นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์รักแรกพบมักจะลงเอยด้วยความสัมพันธ์ในแบบระยะยาว และทุกๆ ครั้งที่รำลึกถึงความทรงจำเมื่อครั้งที่พบกันครั้งแรกของทั้งคู่…ก็สามารถส่งผลดีในเชิงบวกให้ต่างฝ่ายต่างรู้สึกผูกพัน และรักกันมากขึ้นอีกด้วย
-->