มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบของผู้หญิงหลายๆ คน

เมื่อพูดถึงมะเร็งสำหรับผู้หญิงหลายๆ คนก็คงนึกถึงมะเร็งเต้านมกับมะเร็งปากมดลูกเป็นลำดับแรกอยู่แล้ว แต่ความจริงแล้วยังมีอีกหนึ่งชนิดมะเร็งที่ผู้หญิงทุกคนควรให้ความสำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ ‘มะเร็งรังไข่’ ข้อมูลโดย Cancer In Thailand Vol.X ปี 2016–2018 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า คนไทยป่วยเป็น “มะเร็งรังไข่รายใหม่” ปีละประมาณ 2,900 ราย และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงทุกคนละเลยกับความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ เพราะคิดว่าอายุเยอะเท่านั้นถึงจะมีความเสี่ยง ดังนั้นการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนต้องให้ความสำคัญ



#รู้จัก “มะเร็งรังไข่” ภัยเงียบที่ผู้หญิงต้องระวัง!
มะเร็งรังไข่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตบริเวณรังไข่ โดยปกติผู้หญิงทุกคนจะมีรังไข่ 2 ข้าง และมีโอกาสที่จะมีเซลล์มะเร็งพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 25% โดยส่วนใหญ่การเกิดขึ้นของมะเร็งรังไข่ มักเป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวมากกว่า ซึ่งมีหลายคนมักมีความเข้าใจว่า มะเร็งรังไข่มักพบได้กับคนที่มีอายุมากเท่านั้น แต่ความเป็นจริงคือ มะเร็งรังไข่สามารถเกิดขึ้นกับกลุ่มคนอายุน้อยๆ ได้เช่นกัน แต่ในกลุ่มของคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปอาจจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่า หากตรวจพบมะเร็งในระยะลุกลามแล้วนั่นเอง

#มะเร็งรังไข่เกิดจากสาเหตุอะไร?
ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดขึ้นของมะเร็งรังไข่จะยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นจากยีนที่อาจมีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มยีน BRCA1 - BRCA2 ยีนนี้จะทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-60 หรือกลุ่มยีน Lynch syndrome ที่ทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะสืบพันธ์ุ เช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งมะเร็งรังไข่ด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งรังไข่ได้
 
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงจากกรรมพันธุ์ ซึ่งมีคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งนรีเวชอื่นๆ
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์
  • ผู้ที่มีประจำเดือนเร็ว คือมีประจำเดือนอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • ผู้ที่ประจำเดือนหมดช้ากว่าอายุ 55 ปี
  • ผู้ที่มีภาวะการมีบุตรยาก
  • ผู้ที่ไม่เคยตั้งครรภ์

#จุดเด่นของมะเร็งรังไข่ที่เราต้องรู้
แม้ว่าอาการที่เด่นชัดของมะเร็งรังไข่ จะเหมือนกับการอาการทั่วๆ ไปที่ดูจะไม่ร้ายแรง แถมระยะแรกๆ ของมะเร็งรังไข่มักจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะมีอาการที่ไม่ชัดเจนมากนัก เช่น กินอาหารแล้วอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง รู้สึกอิ่มง่ายหรืออิ่มเร็วหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว หรืออาจจะมีอาการที่เด่นชัดขึ้น คือ อาการท้องอืดโตขึ้น เนื่องจากก้อนเนื้องอกไปเบี้ยด หรือกดทับอวัยวะภายในช่องท้อง ซึ่งถือว่าเป็นอาการของมะเร็งรังไข่ในระยะที่ 3-4 แล้ว สำหรับระยะแรกเริ่ม มักพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือมีโอกาสได้ตรวจภายในด้วยการอัลตราซาวด์ก็จะสามารถตรวจพบได้ ดังนั้นหากเรามีลักษณะอาการเหล่านี้บ่อยๆ ซึ่งอาจจะสันนิษฐานจากความถี่และระดับความรุนแรงได้เบื้องต้น ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการวินิจฉัยลักษณะอาการ ว่ามีโอกาสที่จะเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่



#รู้ก่อน ป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรอง
เนื่องจากมะเร็งรังไข่ไม่แสดงอาการใดๆ หรืออาจจะมีอาการที่ไม่ชัดเจนมากนัก จึงทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่า ตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่หรือไม่ ซึ่งก็มีวิธีการที่ทำให้เรารู้ได้ว่า เรามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่หรือเปล่า นั่นคือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของการปวดท้องประจำเดือนผิดปกติ เพราะประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งรังไข่ได้ด้วย ทีนี้หากเรามีความเสี่ยงแล้วอยากตรวจคัดกรอง อาการแบบไหนถึงควรตรวจคัดกรองได้บ้าง
 
  • ทานยาแล้วอาการปวดไม่ดีขึ้น
  • ปวดประจำเดือนมากขึ้น และมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
  • อาจมีไข้ร่วมด้วย
  • เลือดประจำเดือนไหลออกมามากกว่าปกติ ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย เกือบทุก 1-2 ชั่วโมง
  • ปวดท้องน้อย แม้ในวันที่ไม่มีประจำเดือน
  • มีภาวะมีบุตรยาก

เราอยากให้คุณผู้หญิงทุกคนให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปี หากมีโอกาสได้ตรวจสุขภาพตามช่วงวัยก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และถ้าจะให้ดีมากขึ้นไปอีกควรเลือกตรวจคัดกรองโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อดูมดลูกรังไข่ (Ultrasound Varginal) รวมทั้งการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA125) ได้อีกด้วย

การตรวจคัดกรองเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคุณผู้หญิงทุกคน ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ของตัวเราเองทั้งสิ้น

สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!
-->