อยากลืมกลับจำ อยากจำกลับลืม มาทำความเข้าใจระบบ “ความทรงจำ” ที่จะทำให้คุณร้องอ๋อ!

 
อ่านหนังสือแทบตาย พอก้าวขาเข้าห้องสอบได้… หมดกัน “ลืม” แต่กับเรื่องที่ร้ายๆ ทำใจและกายบอบช้ำ สะกดจิตตัวเองให้ลืมเท่าไหร่กลับ “จำ” ไม่หลุดจากหัวไปเสียที ที่เป็นแบบนี้ไม่ใช่โชคชะตาเล่นตลก แต่เป็นเพราะการจัดระเบียบความทรงจำของสมองเราต่างหาก

 
ความทรงจำจะสั้น-ยาว อยู่ที่เราเลือก
ธรรมชาติความทรงจำของเรา จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ความทรงจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งเป็นความทรงจำที่มีพื้นที่จำกัด สมองจึงจำเป็นต้องเลือกว่าจะจำอะไร ทำให้บ่อยครั้งเราลืมสิ่งที่เรียกว่าการ “ท่องจำ” หรือว่าสิ่งที่เราไม่ได้ใส่ใจชั่วขณะไปอย่างง่ายดาย นั่นจึงเหตุผลให้…ลืมว่าเมื่อกี้จะพูดว่าอะไร หรือหาปากกาที่ถือมาไว้เมื่อสักครู่ไม่เจอ ซึ่งในคนปกติทั่วไปความทรงจำระยะสั้นจะหายไปใน 30 วินาที แต่ความทรงจำระยะสั้นนี้ ก็สามารถถูกย้ายไปเป็น ความทรงจำระยะยาว (Long-Term Memory) หากเรามีการทบทวนความทรงจำ หรือเรียกความทรงจำนั้นมาใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งสมองของเราก็ดูจะมีพื้นที่สำหรับเก็บความจำระยะยาวได้อย่างไม่มีขีดจำกัด โดยสมองอันแสนฉลาดของเราก็จะจัดเอาความทรงจำระยะยาวเหล่านี้ ไปเชื่อมโยงกับบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ เพื่อการเรียกใช้งานที่ง่ายขึ้น แถมยังสามารถเก็บได้นานเป็นปีๆ หรือบางทีก็เก็บไว้ได้ตลอดชีวิตเลยล่ะ 
 
► นั่นจึงอธิบายได้ว่าเหตุผลที่เราลืมเนื้อหาที่ท่องจำไว้ ก็เพราะว่าเราไม่ได้ทำความเข้าใจกับเนื้อหาตรงนั้น ทำให้การท่อง ท่อง ท่อง แล้วชั่วขณะหนึ่งที่เราเจอเหตุการณ์อื่นทำให้สมองวอกแวกไปคิดถึงเหตุการณ์ตรงหน้า เรื่องที่ท่องมาก็เลยหมดกัน… ลืม!
 
► ส่วนในทางกลับกันเรื่องราวที่ดันอยากลืมกลับจำ ก็เพราะเรา “พยายาม” ที่จะลืมเรื่องราวเหล่านั้นมากจนเกินไป และความพยายามที่จะลืมนี่แหล่ะ ที่ทำให้สมองวนเวียนคิดแต่เรื่องนั้นซ้ำๆ แทนที่จะต้องลืม สมองกลับเข้าใจว่าเป็นความทรงจำที่สำคัญ ถูกย้ายไปไว้ในส่วนของทรงจำระยะยาวโดยไม่รู้ตัว
 
สีสันช่วยให้ความจำดีขึ้น
มีงานวิจัยเชิงทดลองที่ทำการเก็บข้อมูลกับนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จำนวน 136 คน โดยให้ทำแบบทดสอบความจำที่มีภาพและชุดข้อความที่มีสีสัน กับภาพและชุดข้อความขาวดำ แล้วทำการเก็บคะแนน ซึ่งพบว่าสีสันกระตุ้นความทรงจำระยะสั้นได้ดีกว่า และเพศหญิงมีความทรงจำระยะสั้นดีกว่าเพศชาย และอีกผลการวิจัยก็น่าสนใจก็คือ ไม่พบความสัมพันธ์ของอายุและผลการเรียนกับความทรงจำ นั่นหมายความว่าคนที่เรียนได้เกรดดี ไม่ได้หมายความว่ามีความทรงจำที่ดีกว่า


นอนให้พอดี สมองก็จัดระเบียบความจำได้ดี
แม้ว่าสมองจะไม่เคยหยุดพัก แต่การนอนหลับก็จะช่วยให้สมองได้มีช่วงพักที่จะจัดระเบียบความทรงจำและการเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมาตลอดทั้งวัน ตามกระบวนการทำงานของระบบจดจำ สมองจะซึมซับเรื่องราว เหตุการณ์ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วเรียกขึ้นมาประมวลซ้ำๆ ในระหว่างที่เรานอนหลับ เสมือนช่วงเวลาในการลงบันทึก ก่อนจะจัดระเบียบให้เกิดเป็นความจำระยะสั้น ก่อนที่จะพัฒนาเป็นความจำระยะยาว ฉะนั้นการนอนหลับที่ไม่เพียงพอก็จะทำให้สมองลืมสิ่งที่เคยคิด ลืมสิ่งที่เตรียมจะทำ หรือมิหนำซ้ำก็คือลืมเรื่องที่ไม่ควรจะลืม
 
อย่าเครียดบ่อย ถ้าไม่อยากความจำแย่
เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะขัดขวางการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับระบบความทรงจำ ดร. Marwa Azab ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ยืนยันว่า เมื่อเกิดความเครียดเราจะสร้างความทรงจำระยะสั้นได้ยากขึ้นและเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นให้เป็นความทรงจำระยะยาวได้ยากขึ้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เราจะเรียนรู้ได้ยากขึ้นเมื่อมีความเครียด


พรมมิ ใบแปะก๊วย ตัวช่วยเสริมความจำ
พรมมิแท้จริงแล้วก็คือผักพื้นบ้านที่หลายคนรู้จักดี แต่มีดีกว่าแค่จิ้มกับน้ำพริก เพราะนักวิจัยจากหลายสถาบันต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสารสกัดจากพรมมิมีสรรพคุณช่วยบำรุงสมองให้แข็งแรง ลดความเสื่อมของเซลล์สมอง เพิ่มความจำ เพิ่มสมาธิและเพิ่มการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับใบแปะก๊วย ที่นอกจากจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ออกซิเจนไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้มีสมาธิและเพิ่มความจำได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นสารสำคัญดีๆ ที่คนอยากมีความจำดีไม่ควรพลาด
 
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร LAVITA FRONTEX ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ สำหรับคนที่อยากเสริมความจำ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์สมอง และยังเสริมสร้างการการทำงานของระบบประสาทและสมองด้วยนะ
 
พร้อมติดตามโปรโมชั่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ HA Store 
 
-->