เปิดตำนานเป๊ะ ปัง “Met Gala” งานออสการ์ของวงการแฟชั่น


 
เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ทั้งหน้า Feed ของ Facebook และ Instagram ต่างก็ติดแฮชแท็ค #MetGala2019 กันให้พรึ่บ จนกลายเป็น Talk of The Town วันนี้เราเลยจะพามารู้จักกับงาน Met Gala ว่ามันคืองานอะไร แล้วทำไมทุกคนต้องใส่สุดกับชุดเดินพรม





จุดเริ่มต้นของอีเว้นท์ในตำนาน
งาน Met Gala ได้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1948 โดย เอเลนอร์ แลมเบิร์ต (Eleanor Lambert) สาวสังคมที่เป็นเหมือนผู้ทรงอิทธิพลทางสายแฟชั่น โดยเริ่มต้นจากการเป็นแค่งานกุศลไซส์เล็กที่ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อระดมทุนช่วยเหลือหน่วยงานเพื่อพัฒนาสถาบันเครื่องแต่งกาย The Costume Institute ที่เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ The Metropolitan Museum of Art ในนิวยอร์ก 

เริ่มจาก “โชว์เปิด” แต่ความปังดันจนเป็น “โชว์หลัก”
ย้อนกลับไปในสมัยก่อน งานนี้จะถูกจัดขึ้นเพื่อเปิดตัวนิทรรศการใหม่ๆ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ก่อนที่คนจะได้เข้าชมนิทรรศการด้านใน โดยในแต่ละปีก็จะมีธีมแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าในปีนั้นๆ คนที่ดูแลพิพิธภัณฑ์อยากจะพรีเซนต์แฟชั่นในแง่มุมไหน หรือต้องการสะท้อนอะไรให้กับสังคม ซึ่งทุกวันนี้คนที่เข้ามาดูแลในส่วนนี้ คือ “แอนดรูว์ โบลตัน”  แฟชั่นดีไซเนอร์สุดชิคของ ทอม บราวน์ 


Photo Credit: @MetGalaPage

มี Met Gala ต้องมี Anna Wintour 
อย่างที่บอกว่าในยุคแรกๆ นั้นงานนี้ถูกจัดอย่างเรียบง่าย เป็นแค่งานดินเนอร์ เต้นรำของสังคมชั้นสูง แต่ในปี 1972 ทางสถาบันได้เชิญ ไดอาน่า วรีแลนด์ อดีตบรรณาธิการบริหารของนิตยสารแฟชั่นในตำนาน อย่าง Vogue อเมริกา มาเป็นที่ปรึกษาและประธานในงาน ซึ่งคนนี้นี่แหละ ที่ถือเป็นตัวละครสำคัญที่ปฏิวัติรูปแบบงาน Met Gala ให้ดูฟู่ฟ่า อลังการจนกลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้างมากขึ้น และหลังจากที่ ไดอานา วรีแลนด์ ได้เสียชีวิตลง ก็ได้ แพท บัคลีย์ มารับหน้าที่ประธานการจัดงานต่อ ก่อนจะมาเป็น แอนนา วินทัวร์ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Vogue อเมริกา และ Artistic Director ของบริษัท Conde Nast ที่เข้ามารับช่วงต่อตั้งแต่ปี 1995 จนถึงปัจจุบัน 

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อได้ดีกรีอย่างวินทัวร์มาแล้ว เรื่องความเป๊ะคงไม่ต้องพูดถึง เพราะเธอใส่ใจในทุกรายละเอียดของงาน ตั้งแต่รูปแบบ ธีมงาน การตกแต่ง การเชิญสปอนเซอร์ หรือแม้แต่เรื่องเมนูอาหารเธอก็ดูแบบละเอียดยิบ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ความโปรฯ ของเธอทำให้ในปี 2015 ทางสถาบัน The Costume Institute ถึงกับตั้งชื่อสถานที่จัดนิทรรศการเป็น “Anna Wintour Costume Center” ที่ได้มิเชล โอบามา สตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ ในตอนนั้นมาเป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมด้วยดีไซเนอร์คนสำคัญ ดอนนาเทลลา เวอร์ซาเช่, ราล์ฟ ลอเรน และไดแอน วอน เฟอร์สเตนเบิร์ก มาร่วมงาน

งานนี้ไม่ได้มีแต่ celeb
ความจริงแล้วคนที่มางานก็ไม่ได้มีแค่ดารา เซเลปเท่านั้น แต่ยังมีบุคคลสำคัญๆ ที่เป็นผู้นำทางด้านต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่บริจาคเงินให้กับสถาบัน The Costume Institute ศิลปิน นักแสดง ดีไซเนอร์ที่เป็นไอคอน หรือคนที่กำลังอยู่ในกระแส นักกีฬา นักเคลื่อนไหวทางสังคม รวมไปถึงนักการเมืองที่มีบทบาทในปีนั้นๆ และที่ขาดไม่ได้คือทีมงานและผู้เกี่ยวข้องกับ Vogue นั่นเอง 
 
Cardi B (Photo Credit: @MetGalaPage)


ปีล่าสุด! กับคอนเซ็ปต์ CAMP: NOTES ON FASHION 
อย่างที่บอกว่าในแต่ละปีก็จะมีคอนเซ็ปต์เป๊ะปังที่ต้องการนำเสนอในเรื่องที่แตกต่างกันไป และกับธีมในปี 2019 นี้ก็คือ Camp: Notes of Fashion ที่ได้อินสไปเรชั่นมากจากคอนเทนต์ในปี 1964 Notes on Camp ของไรท์เตอร์ชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Susan Sontag ที่เขียนไว้ว่า “ชั้นรักความเป็นธรรมชาติที่ไม่ธรรมชาติของการหลอกหลวงและดูเกินจริง” ที่สะท้อนถึงการแต่งตัวและเสื้อผ้าแฟชั่นที่คนในสังคมอาจจะมองว่าหลุดโลก เพี๊ยน สุดโต่ง แต่ก็มีความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้แหละที่เป็นตัวขับเคลื่อนวัฒนธรรมให้เกิดมิติใหม่ และทำให้กลุ่มคนที่มีเทสเหมือนกัน ได้เป็นที่ยอมรับในสังคม 

แต่จะเป๊ะ ปัง เว่อร์วังไปถึงจักรวาลกันขนาดไหน ไปดูกัน!
 
Katty Perry (Photo Credit: @MetGalaPage)




Cara Delivingne (Photo Credit: @MetGalaPage)




Ezra Miller (Photo Credit: @MetGalaPage)

 
ดูรุปเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page: @MetGalaPage

ส่วนปีหน้าจะเป็นธีมอะไร ต้องรอลุ้นกัน ! 
 
-->