งีบหลับระหว่างวันแบบนี้ มันดีจริงมั้ย?

นอนเยอะก็แล้ว นอนเร็วก็แล้ว แล้วทำไมยังต้องแอบมางีบหลับตอนกลางวันอีกละเนี่ย และการงีบหลับระหว่างวัน ทำแบบนี้ดีต่อสุขภาพการนอนของเราหรือเปล่านะ?



สุขภาพการนอน คือสิ่งสำคัญ!
สุขใดไหนจะเท่า ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เพราะได้นอนตื่นสาย แถมนอนได้เกิน 8 ชั่วโมงอีกต่างหาก หลายคนเฝ้ารอวันหยุดเพียงเพราะจะได้นอนอย่างสบายใจ แถมไม่ต้องตื่นเช้าไปทำงานอีกด้วย เพียงแค่นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมง ก็ถือว่าพักผ่อนเพียงพอแล้ว เป็นความเชื่อที่หลายๆ คนเข้าใจ และคิดว่า ก็แค่นอนให้เยอะขึ้นก็จะถือว่าพักผ่อนเพียงพอแล้ว สมมติว่าเรานอนไม่ถึง อีกวันนึงนอนเพิ่มก็ถือว่าทดแทนกันได้ แต่! ความเป็นจริงแล้ว สุขภาพการนอนที่ดีที่สุด คือ พฤติกรรมในการนอนของเรา บางคนนอนเพียงพอ แต่ชอบสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนกรน หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจขณะหลับได้เลย ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้ สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ด้วยการทำ Sleep Test และจะทำให้สุขภาพการนอนของเรานั้นดีขึ้นได้ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการนอนหลับ

ถ้าเรานอนไม่พอ การงีบนอนระหว่างวันจะช่วยได้มั้ย?
จริงๆ การงีบหลับระหว่างวัน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคดีๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศอย่างเรา ที่ต้องใช้พลังงานสูงในการทำงาน โดยการงีบหลับที่ดี ควรงีบอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรียกว่า ‘Power Nap’ เพียงแค่ 10-20 นาที จะถือว่าเป็นการงีบหลับที่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามากกว่านี้อาจจะไม่เวิร์ก เพราะถ้าหากเรางีบหลับเกิน 30-90 นาทีไปแล้ว หลังจากที่เราตื่นสารเคมีในสมองที่มีชื่อว่า ‘อะดีโนซีน’ (adenosine) จะเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เรางัวเงีย และรู้สึกอยากจะกลับไปนอนต่อ ซึ่งอาการเหล่านี้เอง จะทำให้เราไม่กระปรี้กระเปร่า รู้สึกไม่สดชื่น และมีอาการหงุดหงิดหลังตื่นนอน

เทคนิคที่ดีที่ทำให้การงีบหลับนั้นมีประสิทธิภาพสูงที่สุดคือ การงีบหลับไม่เกิน 20 นาที เพราะจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการนอนได้ดี ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับชาวออฟฟิศที่จะขอเวลางีบสั้นๆ โดยการงีบหลับจะทำให้เรามีความแอคทีฟมากขึ้น รวมทั้งมีพลังงานมากขึ้น เพียงพอที่จะลุยงานต่อได้ ทางที่ดีเราขอแนะนำให้ทำเป็นนิสัย กำหนดกรอบเวลาสัก 3 เดือน เพื่อทำให้ร่างกายเกิดการจดจำเวลาการงีบหลับของเรา จะทำให้สุขภาพการนอนของเราดีขึ้น และเกิดประสิทธิภาพสูงที่สุดนั่นเอง



การงีบหลับระหว่างวันอาจเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยให้เรานั้นเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้นได้ แต่เราก็ไม่ควรละเลยสุขภาพการนอนในระยะยาว และควรเลิกพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพการนอนของเรา เช่น การกินดึก เพราะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร อาจทำให้เรานอนไม่หลับ เพราะอาหารไม่ย่อย หรือการทำกิจกรรมที่ทำให้เราต้องนอนดึกจนติดเป็นนิสัย เช่น การดูซีรีส์ เล่นเกม หรือทำงานหนักจนมืดค่ำ หากเราจัดสรรเวลาของแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมและไม่กระทบต่อการนอนหลับพักผ่อนได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพการนอนของเรา

หากเรารู้สึกว่าเรามีลักษณะอาการที่สุ่มเสี่ยงทำให้วงจรการนอนของเราเสียหาย ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน การใส่ใจในคุณภาพของการนอน คือสิ่งสำคัญที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม
-->